วันอังคารที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2553

บทบาทพระมหากษัตริย์ไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ต่อการพัฒนาชาติไทย

สถาบันพระมหากษัตริย์มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาชาติไทยมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  ดังตัวอย่างที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้

          1.  การป้องกันและรักษาเอกราชของชาติ          นับตั้งแต่อดีตพระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในฐานะจอมทัพ  เป็นผู้นำในการทำสงครามเพื่อป้องกันบ้านเมืองและขยายอำนาจ  เช่น  สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสระภาพจากพม่าและทำสงครามเพื่อสร้างความมั่นคงและขยายอำนาจของกรุงศรีอยุธยา หรือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงประกาศอิสรภาพจากพม่าและทำสงครามเพื่อสร้างความมั่นคงและขยายอำนาจของกรุงศรีอยุธยา  หรือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  ทรงเป็นผู้นำขับไล่พม่าหลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2  และสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีแห่งใหม่
          ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชก็ทรงเป็นแม่ทัพสำคัญมาตั้งแต่สมัยธนบุรี  ทรงทำสงครามกับพม่า  สงครามครั้งใหญ่  คือ  สงครามเก้าทัพ  เมื่อ พ.ศ. 2328  แม่แต่ในสมัยที่ไทยเผชิญภัยคุกคามจากจักรวรรดินิยมตะวันตก  ทั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงเป็นผู้นำในการดำเนินนโยบายต่าง ๆ เพื่อรักษาเอกราชของชาติ  โดยใช้นโยบายทางการทูตสร้างความสัมพันธ์กับราชสำนักต่างชาติเมื่อเผชิญกับความขัดแย้งกับชาติตะวันตก เช่น  รัฐบาลไทยใช้การเจรจาทางการทูตทั้งการเจรจาในเมืองไทยและในฝรั่งเศส  ในกรณี ร.ศ. 112  โดยขุนนางไทยและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงเจรจากับฝรั่งด้วยพระองค์เอง  เมื่อคราวเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 1 พ.ศ. 2440
          นอกจากนี้ทรงผูกมิตรกับรัสเซีย  เพื่อให้รัสเซียช่วยเจรจาไกล่เกลี่ยกับฝรั่งเศสอีกทางหนึ่ง  และทรงยอมเสียดินแดนส่วนน้อยที่ไม่ใช่ดินแดนไทยเพื่อรักษาดินแดนส่วนใหญ่ไว้  หรือในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกาศเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1914 - 1918)  และส่งทหารไทยไปยุโรปด้วย  ทำให้ไทยได้ประโยชน์จากการเข้าร่วมกับฝ่ายชนะสงคราม  โดยได้ยกเลิกสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมที่เคยทำกับชาติตะวันตกไว้ในเวลาต่อมา

          2.  การสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทย
          บทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ในการสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทยจัดว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาชาติไทยด้วยเช่นกัน  โดยสามารถสรุปได้ดังนี้
                    1)  ด้านประเพณีและพิธีสำคัญต่าง ๆ  พระมหากษัตริย์ทรงมีบทบาทสำคัญในการสร้างสรรค์พระราชพิธีและขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติไทยมาตั้งแต่อดีต  ทั้งพระราชพิธีที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์โดยตรง  เช่น  พระราชพิธีราชาภิเษก  พระราชพิธีของรัฐ เช่น  พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ  และพระพระราชพิธีทางศาสนา  เช่น  พระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินทอดผ้าพระกฐินโดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค  วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา  ล้วนมีพระมหากษัตริย์ดป็นผู้นำในการปฏิบัติ
                    2)  ด้านศาสนา  พระมหากษัตริย์ไทยทุกยุคทุกสมัยเป็นองค์อุปถัมภ์และส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนา  ทั้งการสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์ศาสนสถาน  การสังคายนาพระไตรปิฏก  การแต่งวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา  เช่น  สมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ 1(ลิไทย)  ทรงแต่งไตรภูมิพระร่วงหรือสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงสนับสนุนให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตร่วมกันแต่งหนังสือเรื่องมหาชาติคำหลวง
                    นอกจากนี้  พระมหากษัตริย์ไทยทรงมีขันติธรรมทางศาสนา  ทรงให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาแก่ราษฎร  และทรงสนับสนุนศาสนาอื่น ๆ เช่น  พระราชทานที่ดินให้สร้างเป็นโบสถ์คริสต์และมัสยิดในศาสนาอิสลามทั้งในสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์  เป็นต้น
                    3)  ด้านวัฒนธรรมการดำเนินชีวิต  ในอดีตราชสำนักเป็นศูนย์กลางประเพณีและวัฒนธรรม  ชาวบ้านจะเรียนแบบการประพฤติปฏิบัติของชาววัง  เช่น  การแต่งกาย  อาหารนับตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา  พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการดำเนินชีวิต  โดยเฉพาะการรับวัฒนธรรมแบบตะวันตก  เช่น  การใช้ช้อนส้อม  การนั่งโต๊ะ  เก้าอี้  การแต่งกายแบบตะวันตก  ทำให้วัฒนธรรมแบบใหม่แพร่หลายไปสู่ประชาชน
                    ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปลูกฝังเรื่องชาตินิยม  ให้คนไทยมีความรักและจงรักภักดีต่อ  "ชาติ  ศาสน์  กษัตริย์"  ซึ่งกลายเป็นคำขวัญมาจนถึงปัจจุบัน  ทรงนำประเทศเข้าสู่สังคมนานาชาติในทางวัฒนธรรม  โดยให้คนไทยมีนามสกุลเพื่อแสดงถึงความเป็นชาติที่มีอารยธรรม  มีการใช้คำนำหน้าเด็ก  สตรี  บุรุษ  ทรงเปลี่ยนการนับเวลาตามแบบสากล 24 นาฬิกา  และทรงประดิษฐ์ธงชาติแบบใหม่  เรียกว่า  "ธงไตรรงค์"  ให้เหมือนกับธงที่ประเทศส่วนใหญ่ใช้กัน

          4)  ด้านศิลปกรรม  แบ่งออกเป็น
                    4.1)  ด้านวรรณกรรม  พระมหากษัตริย์ไทยหลายพระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถทางการประพันธ์  เช่น  รัชกาลที่ 1  ทรงพระราชนิพนธ์นิราศรบพม่าที่ท่าดินแดน  บทละครเรื่องรามเกียรติ์  รัชกาลที่ 2  ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนา  กาพย์เห่เรือชมเครื่องคาวหวาน  รัชกาลที่ 5  ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่อง  เงาะป่า  ไกลบ้าน  รัชกาลที่ 6  ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมมากมาย  เช่น  เทศนาเสือป่า  นิทานทองอิน  ศกุนตลา  มัทนะพาธา  รวมทั้งทรงแปลบทละครของวิเลียม  เชกสเปียร์  เช่น  เวนิสวานิช  โรมิโอและจูเลียต  รวมทั้งรัชกาลที่ 9  ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนก  ทรงแปลเรื่องนายอินทร์  ผู้ปิดทองหลังพระ  ติโต  (Tito)  จากต้นฉบับภาษาอังกฤษ  เป็นต้น
                    4.2)  ด้านสถาปัตยกรรม  ประติมากรรม  และจิตรกรรม  ผลงานด้านสถาปัตยกรรมที่พระมหากษัตริย์ไทยหลายพระองค์โปรดเกล้า ฯ  ให้สร้างขึ้นมีอยู่มากมาย  เช่น  ในสมัยอยุธยา  สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1  (อู่ทอง)  โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระปรางค์วัดพุทไธสวรรย์  ตามแบบศิลปะลพบุรี  สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระเจดีย์ใหญ่ 3 องค์ในวัดพระศรีสรรเพชญ์  ซึ่งได้รับอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัย
                    ส่วนในสมัยรัตนโกสินทร์  เช่น  รัชสมัยที่ 1  โปรดเกล้า ฯ  ให้สร้างพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดาราม  ซึ่งเป็นผลงานชิ้นเอกด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมอันเป็นสมบัติของชาติมาถึงปัจจุบัน  โดยโปรดให้ถ่ายแบบพระบรมมหาราชวังที่กรุงศรีอยุธยามาสร้าง  เช่น  พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท  นอกจากนี้โปรดเกล้า ฯ  ให้สร้างป้อมปราการเรียงรายไว้รอบพระนคร  ป้อมที่เหลือมาถึงปัจจุบัน  คือ  ป้อมพระสุเมรุและป้อมมหากาฬ  รัชกาลที่ 2  โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระเจดีย์ใหญ่ 3 องค์ในวัดพระศรีสรรเพชญ์  ซึ่งได้รับอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัย
                    ส่วนในสมัยรัตนโกสินทร์  เช่น  รัชกาลที่ 1  โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดาราม  ซึ่งเป็นผลงานชิ้นเอกด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมอันเป็นสมบัติของชาติมาถึงปัจจุบัน  โดยโปรดให้ถ่ายแบบพระบรมมหาราชวังที่กรุงศรีอยุธยามาสร้าง  เช่น  พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท    นอกจากนี้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างป้อมปราการเรียงรายไว้รอบพระนคร  ป้อมที่เหลือมาถึงปัจจุบัน  คือ  ป้อมพระสุเมรุและป้อมมหากาฬ  รัชกาลที่ 2 โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างสวนขวาขึ้นในพระบรมมหาราชวัง  เพื่อเป็นที่ทรงพระสำราญและต้อนรับแขกเมือง  ทรงแกะสลักบานประตูวิหารพระศรีศากยมุนีที่วัดสุทัศนเทพวราราม  รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างโลหะปราสาทที่วัดราชนัดดาราม  และโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างและซ่อมแซมพระราชวัง  เช่น เปลี่ยนหลังคาพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทและเพิ่มการปิดทองเข้าไป  รื้อประตูกำแพงวังเดิมเป็นประตูที่มียอดมณฑปเป็นไม้  เปลี่ยนเป็นประตูหอรบอย่างที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน  และโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างป้อมปราการเพิ่มเติม  โดยเฉพาะอย่างยิ่งป้อมที่ตั้งอยู่ทางปากอ่าวไทย  ในสมัยรัชกาลที่ 5  ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมตะวันตก  จึงโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างตึกและพระที่นั่งทั้งแบบตะวันตก  และประยุกต์ระหว่างศิลปะไทยกับตะวันตก  เช่น  พระที่นั่งอนันตสมาคม  พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท  พระที่นั่งวิมานเมฆ  เป็นต้น
                    สำหรับงานประติมากรรมส่วนใหญ่จะโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระพุทธรูป  เช่น  สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2  โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระศรีสรรเพชญ์ประดิษฐานไว้ในวิหารหลวง  วัดพระศรีสรรเพชญ์  ในสมัยรัตนโกสินทร์  เช่น  รัชกาลที่ 2  โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระพุทธธรรมิศราชโลกธาตุดิลก  พระประธานในพระอุโบสถวัดอรุณราชวราราม  โดยทรงปั้นพระพักตร์ด้วยพระองค์เอง  รัชกาลที่ 9  โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระพุทธรูปบางประทานพร  ภ.ป.ร.  รวมทั้งทรงสร้างพระพิมพ์ส่วนพระองค์  คือ  พระพิมพ์จิตรลดา  เป็นต้น
                    ในด้านจิตรกรรม  เช่น  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดเกล้า ฯ ให้ช่างเขียนเขียนสมุดภาพไตรภูมิ  เพื่อให้คนทั้งหลายประกอบความดีละเว้นความชั่ว  รัชกาลที่ 3  ทรงให้การส่งเสริมช่างฝีมือทุกชาติ  งานจิตรกรรมในรัชสมัยนี้จึงมีอยู่หลายแห่งที่มีการนำศิลปะจีนเข้ามาผสม  เช่น  ประตูพระที่นั่งอิศราวินิจฉัยในพระราชวังบวรสถานมงคล  (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  พระนคร)  มีการประดับลวดลายที่แตกต่างไปจากเดิม  คือ  มีลายต้นไม้  ดอกไม้  นก  แมลง  และกิเลน  ซึ่งเป็นสัตว์ในตำนานของจีนปรากฏอยู่ด้วย ขณะเดียวกันก็มีการเขียนสีทอง  ซึ่งดัดแปลงมาจากจิตรกรรมของไทยมีความโดดเด่น  รวมทั้งรัชกาลที่ 9  ทรงวาดภาพฝีพระหัตถ์  ซึ่งมีทั้งแบบเหมือนจริง (Realism)  แบบเอกซ์เพรสชันนิซึม (Expressionism)  และแบบนามธรรม (Abstractionism)
                    4.3  ด้านนาฏกรรมและการดนตรี  นาฏกรรมของไทยเริ่มมีแบบแผนขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา)  โดยได้รับอิทธิพลมาจากละครหลวงของเขมรและโปรดให้มีการเล่นดึกดำบรรพ์ (ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็นการแสดงโขน)  จนกระทั่งถึงในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศโปรดการเล่นละครอย่างมาก  จึงทรงส่งเสริมการละครจนมีความเจริญรุ่งเรือง
                    ครั้นเมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าใน พ.ศ. 2310  การละครไทยเสื่อมโทรมลง  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้โปรดเกล้า ฯ ให้นำพม่าใน พ.ศ. 2310  การละครไทยเสื่อมโทรมลง  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้โปรดเกล้า ฯ ให้นำละครหญิงของเจ้านครเมื่อคราวเสด็จลงไปปราบชุมนุมเจ้านครเข้ามาเป็นครูฝึกร่วมกับพวกละครที่ทรงรวบรวมจากที่ต่าง ๆ ฝึกหัดเป็นละครหลวงขึ้นใหม่  ในสมัยรัตนโกสินทร์  นาฏกรรมได้รับการฟื้นฟูในสมัยรัชกาลที่ 1  และได้รับการส่งเสริมให้เจริญก้าวหน้า  ในสมัยรัชกาลที่ 2  ทรงฟื้นฟูท่ารำอย่างโบราณทั้งโขนและละคร  และปรับปรุงท่ารำต่าง ๆ ด้วยพระองค์เอง  ทรงส่งเสริมการละคร  ซึ่งกลายเป็นต้นแบบทางการละาครที่สืบเนื่องมาถึงปัจจุบัน
                    ในด้านการดนตรี  รัชกาลที่ 2  ทรงชำนาญการเล่นซอสามสาย  ทรงใช้ซอที่พระราชทานนามว่า  "ซอสายฟ้าฟาด"  ประพันธ์เพลง  "บุหลันลอยเลื่อน"  หรือ  บุหลันลอยฟ้า"  ในสมัยรัชกาลที่ 7  ทรงประพันธ์เพลงราตรีประดับดาว  และในสมัยรัชกาลที่ 9  ทรงประพันธ์เพลงพระราชนิพนธ์ไว้จำนวนมาก  เช่น  พรปีใหม่  ลมหนาว  ใกล้รุ่ง  สายฝน  เป็นต้น
                    กล่าวโดยสรุป  ในประวัติศาสตร์ไทยมีประเด็นสำคัญหลายเรื่องที่น่าศึกษา  เช่น  ประเด็นเกี่ยวกับความเป็นมาของชนชาติไทย  อาณาจักรโบราณในดินแดนไทยและอิทธิพลที่มีต่อสังคมไทย  ปัจจัยที่มีผลต่อการสถาปนาอาณาจักรไทย  สาเหตุและผลการปฏิรูป การปกครองบ้านเมือง  การเลิกทาสและเลิกไพร่  การเสด็จประพาสยุโรปและหัวเมืองสมัยรัชกาลที่ 5  การเปลี่ยนแปลงการปกครอง  พ.ศ. 2475  บทบาทของสตรีไทย
                    นอกจากนี้อ  ตลอดประวัติศาสตร์ไทยจะเห็นได้ว่าไทยเป็นชนชาติที่มีพระมหากษัตริย์เป็นผู้นำในการสร้างความมั่นคงทางการเมืองการปกครอง  รวมทั้งการสร้างสรรค์วัฒนธรรมและพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรือง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น